วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการแก้มลิง




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ  โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt)   ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง

วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
2.
การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"


ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1.
ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล 2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3.
สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง  

4.
เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว




(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
1.
การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ

2.
เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ

3.
การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง



โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2.
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"

3.
โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"


โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."




 
 โครงการแก้มลิง คือการจัดให้มีสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่เป็นบึงพักน้ำให้หน้าน้ำ โดยรองรับน้ำฝนไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะระบายลงทางระบายน้ำสาธารณะ ฉะนั้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจึงไม่ไหลลงสู่ทางระบายน้ำในทันที แต่จะถูกขังไว้ในพื้นที่พักน้ำ รอเวลาให้คลองต่างๆ ซึ่งเป็นทางระบายน้ำหลักพร่องน้ำพอจะรับน้ำได้ จึงค่อยๆ ระบายน้ำลง เป็นการช่วยลดปัญหาน้ำท่วมขัง ได้ในระดับหนึ่ง
 นอกจากวัตถุประสงค์เพื่อการระบายน้ำแล้ว แนวพระราชดำริ แก้มลิง จึงผสานแนวคิดในการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย กล่าวคือ เมื่อน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ถูกส่งเข้าไปในคลองต่างๆ ก็จะไปบำบัด เจือจางน้ำเน่าเสีย ในคลองเหล่านี้ให้เบาบางลงแล้วในที่สุดก็จะผลักน้ำเน่าเสียที่เจือจางแล้วลงสู่ทะเล
 วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินการ ให้มีการชะลอน้ำ หรือพื้นที่เก็บกักน้ำ ก็เพื่อลดหรือชะลออัตราการไหลของน้ำผิวดิน ที่เกิดจากการไหลที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้พื้นที่ระบายน้ำก่อนปล่อยให้ไหลลงสู่ระบบ ระบายน้ำสาธารณะ           ในการพิจารณาออกแบบพื้นที่ชะลอน้ำหรือพื้นที่เก็บกักน้ำ จะต้องทราบปริมาตรน้ำผิวดินที่จะเก็บกักและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุดที่จะยอมให้ปล่อยออกได้ในช่วงเวลาฝนตก ปริมาตรที่เก็บกัก ควรจะเป็นปริมาตรน้ำที่เพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่ระบายน้ำได้รับการพัฒนาแล้ว
 ในการจัดหาพื้นที่แก้มลิง ที่สำคัญที่สุดของการจัดหาพื้นที่ชะลอน้ำหรือพื้นที่เก็บกักน้ำ คือจะต้องพยายามจัดหาพื้นที่เก็บกักให้พอเพียง เพื่อที่จะได้ควบคุมอัตราการไหลออกจากพื้นที่ชะลอน้ำเหนือ พื้นที่เก็บกักน้ำไม่ให้เกินอัตราการไหลออกที่มากที่สุด ที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการท่วมขังในระบบระบายน้ำสาธารณะหรือพื้นที่ต่ำ
 สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการจัดหาพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม (แก้มลิง) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้เก็บกักน้ำฝนชั่งคราวก่อนระบายลง ระบบระบายน้ำสาธารณะ ซึ่งในชั้นแรกจะทำการจัดหาพื้นฝั่งพระนคร โดยมีเป้าหมายในการจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำปริมาตร 13ล้านลูกบาศก็เมตร
 ปัจจุบันสำนักการะบายน้ำได้จัดหาพื้นที่แก้มลิงได้จำนวน 20 แห่ง และมีความสามารถในการเก็บกักน้ำได้ 10,062,525 ลบ.ม. ส่วนในพื้นที่ทางด้านฝั่งธนบุรีจะมีคลองเป็นจำนวนมาก โดยคลองส่วนใหญ ่เห็นคลองตามแนวตะวันออกตะวันตก ซึ่งระบายน้ำออกทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในช่วงฤดูน้ำหลากจากทางเหนือน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีระดับสูงขึ้น จึงควรใช้คลองหลักที่มีอยู่นั้นเป็นแก้มลิง โดยทำการสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการเก็บกักและระบายน้ำออกสู่ทะเล


 โครงการฝนหลวง




ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง 
"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."




      โครงการ พระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี




    เส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน




      ตามที่ทรงเล่าไว้ จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้




        การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้


ฝนเทียม : สิ่งประดิษฐ์ไทย


สารฝนหลวงในการปฏิบัติการทำฝนในประเทศไทย
          สารฝนหลวงที่ใช้ทำฝนหลวงในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ชนิด บางชนิดมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี (hygroscopic substances) บางชนิดมีคุณมบัติเป็นแกนกลั่นตัว (CCN) ของความชื้นในบรรยากาศ บางชนิดสามารถคายความร้อนออกมาเพื่อกระตุ้น หรือ เสริมการก่อตัวและ เจริญเติบโตของเมฆ บางชนิดสามารถดูดดึงความร้อนทำให้อุณหภูมิของอากาศหรือเมฆเย็นตัวลง เร่งการกลั่นตัวของไอน้ำและเสริมความหนาแน่น ของเมฆจนเกิดเป็นฝน การเลือกใช้สารฝนหลวงแต่ละชนิด จึงพิจารณาคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นกับสภาวะของเมฆหรือบรรยากาศในแต่ละวันเป็นสำคัญ สารฝนหลวงที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ


  สารฝนหลวงสูตรร้อน          สารฝนหลวงสูตรร้อนมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำะทำใหอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในสภาพผงละเอียด สารฝนหลวงสูตรร้อนที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
          1. สูตร6 แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride)
          2. สูตร8 แคลเซียมอ๊อกไซด์ (Calcium Oxide)
 
 สารฝนหลวงสูตรเย็น          สารฝนหลวงสูตรเย็นมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง สารฝนหลวงสูตรเย็นที่ ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
          1. สูตร4 ยูเรีย (Urea)
             2. สูตร19 แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate)
          3. สูตร 3 น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice)
สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ
          สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ มีคุณสมบัติเป็นแกนดูดซับความชื้นให้เข้ามาเกาะและกลั่นตัว กลายเป็นเม็ดน้ำจำนวนมาก สารฝนหลวงสูตรแกนกลั่นตัวที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
          1. สูตร1 เกลือแป้ง (Sodium Chloride)
          2. สารฝนหลวง สูตรฝนหลวง ท1
เครื่องบินคิงแอร์ เครื่องบินที่ใช้ทำฝนหลวง
การทำฝนจากเมฆอุ่น          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนจากเมฆอุ่น
          จากการที่ทรงติดตามผลการทดลอง ควบคู่กับปฏิบัติการ และทรงวิเคราะห์วิจัย จากรายงานผลการปฏิบัติการประจำวัน และรายงานของคณะปฏิบัติการ ที่ทรงบัญชาการด้วยพระองค์ ประกอบกับที่ทรงสังเกตสภาพกาลอากาศ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าทั้งในช่วงที่ มีปฏิบัติการทดลอง และไม่ปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนพระทัยศึกษาจากเอกสารวิชาการ จึงทรงสามารถพัฒนากรรมวิธี การทำฝนจากเมฆอุ่น อย่างก้าวหน้ามาตามลำดับจนทรงมั่นพระทัย จึงทรงสรุป ขั้นตอนกรรมวิธีในปี 2516 แล้วพระราชทานให้ใช้ เป็นหลักในการปฏิบัติการสืบเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2542 ซึ่งมี 3
ขั้นตอน คือ


เทคนิคการโจมตีเมฆอุ่นแบบ Sandwich
          
       ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศขณะนั้นเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดและก่อรวมตัวของเมฆด้วยการก่อกวนสมดุล (Equilibrium) หรือเสถียรภาพ (Stability) ของมวลอากาศเป็นแห่ง ๆ โดยการโปรยสารเคมีประเภทดูดความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemicals) ในท้องฟ้าที่ระดับใกล้เคียงกับระดับกลั่นตัวเนื่องจากการไหลพาความร้อนในแนวตั้ง (Convective condensation level) ซึ่งเป็นระดับฐานเมฆของแต่ละวัน และโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง (Endothermic chemicals) ที่ระดับสูงกว่าระดับฐานเมฆ 2,000-3,000 ฟุต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดเมฆเร็วขึ้นและปริมาณมากกว่าที่เกิดตามธรรมชาติ โดยเริ่มก่อกวนในช่วงเวลาเช้าทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ในแต่ละวัน
          ขั้นตอนที่ เลี้ยงให้อ้วน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและเมฆขณะนั้น เพื่อเร่งหรือเสริมการเจริญก่อตัวของเมฆให้ขนาดใหญ่และหนาแน่นยิ่งขึ้นด้วย การกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้วให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทั้งฐานเมฆและยอดเมฆขนาดหยดน้ำใหญ่ขึ้นและปริมาณน้ำในก้อนเมฆมากขึ้น จนหนาแน่นเร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเองตามธรรมชาติ ด้วยการโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงที่ระดับฐานเมฆหรือทับยอดเมฆ หรือระหว่างฐานและยอดเมฆโดยบินโปรยสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆโดยตรง หรือโปรยรอบ ๆ และระหว่างช่องว่างของก้อนเมฆทางด้านเหนือลมให้กระแสลมพัดพาสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือโปรยสารเคมีสูตรร้อนสลับสูตรเย็นในอัตราส่วน 1:4 ทับยอดเมฆทั่วบริเวณที่เกิดสภาพเมฆที่มีความหนา 2,000-3,000 ฟุต ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง หรือที่บริเวณพื้นที่ใต้ลมของบริเวณที่เริ่มต้นก่อกวน ทั้งนี้สุดแล้วแต่สภาพของเครื่องบิน ภูมิอากาศ และอากาศขณะนั้นจะอำนวยให้
          ขั้นตอนที่ โจมตี เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิตช์(Sandwich)

การทำฝนจากเมฆเย็น
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้มีการวิจัยและพัฒนาการทำฝนจากเมฆเย็น  เนื่องจากการวิจัยพัฒนาและปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นเท่านั้น เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้เป็นเครื่องบินที่ไม่มีระบบปรับความดันอากาศ ไม่ปลอดภัยที่จะบินขึ้นสูงกว่าระดับ 10,000 ฟุต แต่ในการปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นนั้น ยอดเมฆสามารถเจริญขึ้นถึง 25,000 ฟุต หรือมากกว่านั้น ฉะนั้น กลุ่มเมฆนั้นจึงเป็นเมฆผสม (Mixed Cloud) ของเมฆอุ่น (Warm Cloud) และเมฆเย็น (Cold Cloud) ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับฐานเมฆจนถึงประมาณ 18,000 ฟุต เป็นส่วนของเมฆอุ่น (Warm Cloud) มีอุณหภูมิในเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป มีอุณหภูมิในเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสเป็นส่วนของเมฆเย็น (Cold Cloud)
          ได้พระราชทานแนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เมื่อ พ.ศ. 2515 ให้หาลู่ทางวิจัยและประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินแบบที่ไม่มีระบบปรับความดันต่อจากระดับบิน 10,000 ฟุต ให้สูงเข้าไปในส่วนของเมฆเย็นดังกล่าว ให้เกิดฝนตกจากเมฆเย็นลงมาสมทบกับเมฆอุ่นเพื่อให้ปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆนั้นเพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบกเริ่มลงมือทำการวิจัยประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินและจรวดจากทางพื้นดิน แต่หยุดกิจกรรมนี้เมื่อ พ.ศ.2516 เนื่องจากฝ่ายกรมสรรพาวุธทหารบกติดภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ 

จรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ

          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงในขณะนั้นได้พยายามสานต่อพระราชดำรินี้ โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสภาวิจัยแห่งชาติ จัดตั้งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดฝนเทียมทำการวิจัยและประดิษฐ์จรวดต้นแบบขึ้นมาทำการยิงทดสอบและพัฒนาเพื่อให้สามารถยิงสารเคมีเข้าไประเบิดในเมฆที่ ทั้งระดับเมฆอุ่นและเมฆเย็น  ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา การวิจัยและพัฒนาจรวดได้ก้าวหน้ามาตามลำดับจนถึงปี 2530 สามารถบรรจุสารเคมียิงเข้าไประเบิด ในเมฆอุ่นที่ระดับสูงเกินกว่าฐานเมฆได้ผลพอที่จะนำเข้าใช้ในปฏิบัติการจริงได้แล้วและกำลังพัฒนาขีดความสามารถให้เข้าไประเบิดที่ระดับสูงเกิน 10,000 ฟุตขึ้นไปจนถึงระดับเมฆเย็น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โครงการดำเนินการไปอย่างก้าวหน้าได้ระงับไปแล้วในปัจจุบัน
          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมิได้หยุดยั้งในการค้นหาลู่ทางที่จะดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆเย็น จนกระทั่งในปี 2531ได้เกิดโครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลไทย ทำการศึกษา วิจัย และทดลองโดยการยิงสารเคมีซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) จากเครื่องบินปรับความดันอากาศ (King air B-350) สามารถบินขึ้นได้สูงถึง 35,000 ฟุตเข้าไปกระตุ้นกลไกการเปลี่ยนสถานะของเหลว (เย็นจัด) ของหยดน้ำ (Cloud droplets) ให้เป็นผลึกน้ำแข็ง (ice crystals) ร่วงหล่นลงมาละลายสมทบกับหยดน้ำในเมฆอุ่นเกิดเป็นฝนตกปริมาณหนาแน่นยิ่งขึ้นในช่วงแรกตั้งแต่ 2531-2534 เป็นการเตรียมและพัฒนาโครงการ จนพร้อมทำการปฏิบัติการทดลองในปี 2534-2537 จากการวิเคราะห์ ผลการปฏิบัติการทดลองเบื้องต้น สามารถเพิ่มปริมาณ น้ำฝนได้สูงกว่าธรรมชาติถึง 125% เพิ่มพื้นที่รองรับฝนที่ตกได้ถึง 71% และทำให้ฝนตกยาวนานขึ้น 33%อย่างไรก็ดีการวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินการต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2542 เพื่อให้สามารถยืนยันผลในทางสถิติได้แน่นอนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเข้าสู่การปฏิบัติการหวังผลต่อไป
          อย่างไรก็ดี พระราชดำริดังกล่าวได้บรรลุผลสมพระราชประสงค์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว
 
เครื่องบินเช่าแอโรคอมมานเดอร์ เป็นเครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ในระยะแรกเริ่มการทดลองทำฝนจากเมฆเย็น




โครงการปลูกหญ้าแฝก





".....การที่จะมีต้นไม้ไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การปลูกป่า และปลูกป่าบริเวณต้นน้ำซึ่งเป็นยอดเขา และเนินสูงนั้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้อง มีการ ปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อ เกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไม้ไว้ดีแล้ว ท้องถิ่นก็จะมีน้ำใช้ ชั่วกาลนาน...." 


       พระราชดำรัส ๑๔ เมษายน ๒๕๒๐พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ของประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ลดลงอย่าง รวดเร็ว พระองค์ท่านได้พยายามคิดค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้มากขึ้นอย่าง มั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะ ธรรมชาติดั้งเดิม
       ภารกิจหลักของกรมทางหลวง คือการก่อสร้างและบำรุงทางหลวงทั่วประเทศ และการก่อสร้างทางหรือ ขยายทาง ในบางครั้งในบางพื้นที่นั้นจำเป็นต้องตัดต้นไม้ที่มีอยู่สองข้างทางเดิมออกบ้าง เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณจราจร ที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมากรมทางหลวงไม่เคยทอดทิ้งความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างทางแต่ละสายทางจะรักษาต้นไม้ที่มีอยู่เดิมไว้ ให้มากที่สุด หากจำเป็นต้องตัดก็จะมีการปลูกเพิ่มเติม โดยมีแนวทางการปลูกต้นไม้สองข้างทางกำหนดเป็นแบบมาตรฐานไว ้ในแผนงานก่อสร้าง ทางทุกสายทาง ซึ่งการปลูกต้นไม้ดังกล่าวนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมและภูมิสถาปัตย์แล้ว ยังทำให้เกิด ความสวยงาม ร่มรื่น และเพื่อรักษา สภาพแวดล้อมอีกด้วย จากภารกิจดังกล่าว  กรมทางหลวงยังดำเนินการปลูกต้นไม้ในพื้นที่นอกเขตทางที่เป็นที่ดินสงวนซึ่งกระจายอยู่ในพื่นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในรูปแบบของการจัดทำเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและในลักษณะของสวนป่า เพื่อให้เกิดความร่มรื่น สวยงาม และเป็นการสร้างความเขียวขจีให้กับประเทศ และการดำเนินการอันสำคัญยิ่งสำหรับกรมทางหลวงก็คือ 

๑. โครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
       โครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติเริ่มต้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ จากมติคณะรัฐมนตรี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้อนุมัติให้จัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ ๕๐ ขึ้น โดยความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงได้เริ่มดำเนินการปลูกต้นไม้ เพื่อร่วม โครงการดังกล่าว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๓๗-๒๕๓๙ ตามแผนงานการปลูกป่าสองข้างทางหลวงแผ่นดินและ ทางรถไฟ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกต้นไม้บริเวณสองข้างทางหลวงทั่วประเทศในสายทางต่าง ๆ รวมระยะทาง ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตร จำนวน ๑๕ ล้านต้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งในครั้งนั้นใช้ชื่อโครงการว่า " ป่าเขียวขจีสองข้างทางหลวง" โดยมีวัตถุ ประสงค์ดังนี้ 
- สนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการปลูกต้นไม้รักษาสิ่งแวดล้อม
- เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าตามนโยบายรัฐบาล
- เพื่อให้ต้นไม้ให้ความร่มรื่น สวยงาม เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า
- เพื่อลดมลภาวะและป้องกันภัยธรรมชาติ


๒. โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงมีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา 
       โครงการนี้กรมทางหลวงจัดทำขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ยืนต้นที่จะเติบโตเป็นต้นไหญ่ ให้ร่มเงา และมีดอกสวยงามตลอดสองข้างทางหลวงและในเกาะกลางบริเวณถนนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสำคัญและเข้าสู่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๖ รอบ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๒ จำนวน ๕๔๓,๙๒๕ ต้น ใน ๒๔๙ สายทาง ซึ่งกรมทางหลวงได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ในโครงการนี้แล้วเสร็จรวมทั้งสิ้น ๗๑๒,๙๒๓ ต้น นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังมีโครงการปลูกต้นไม้เนื่องในวโรกาสสำคัญ ๆ เช่น โครงการปลูกต้นไม้สองข้างทางและในเกาะกลางถนน กำหนดระยะ เวลา ๕ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๕ จำนวน ๓,๖๔๘,๗๗๙ ต้น ใน ๕๙๓ สายทาง โดยใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ดำเนิน การปลูกไปแล้ว ๑,๐๙๖,๙๓๗ ต้น ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ปลูกไปแล้วจำนวน ๙๑๗,๒๗๐ ต้น และใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๗๔๗,๒๒๒ ต้น
        โครงการปลูกซ่อมแซมต้นไม้ในโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖ จำนวน ๔,๗๙๖,๒๓๒ ต้น ใน๘๒๔ สายทาง ซึ่งใน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ดำเนินการปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๑๖๑,๕๓๒ ต้น และใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ปลูกไปแล้วจำนวน ๑,๐๙๙,๒๒๕ ต้น โครงการปลูกต้นไม้ เฉลิมพระเกียรติครบรอบ ๑๐๐ ปี สมเด็จย่า ณ บริเวณชุมทางต่างระดับพุทธมณฑลสาย ๒ โครงการ ปลูกต้นไม้ โครงการ ๙ นาที ๙ ล้านต้น เพื่อล้นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยร่วมกับกรมป่าไม้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่สำนักงานตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การปลูกต้นไม้ตาม สถานที่ต่าง ๆ นั้น กรมทางหลวงได้คัดเลือกพันธุ์ไม้โดยยึดหลักความเหมาะสมกับพื่นที่ในแต่ละภาคของประเทศ เช่น สะเดา ขี้เหล็ก สักทอง มะขาม หางนกยูง ราชพฤกษ์ ต้นปีบ ทรงบาดาล เฟื่องฟ้า เป็นต้น
        ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา กรมทางหลวงได้ให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้พร้อม ๆ ไปกับการก่อสร้างและบำรุง รักษาเส้นทาง ทั้งนี้เพื่อให้ต้นไม้บริเวณสองข้างทางและในพื้นที่ดินของกรมทางหลวงทั่วประเทศเป็นแหล่งป่าไม้ที่ให้ความร่มรื่น เขียวขจี ก่อให้เกิด ความชุ่มชื้นแก่แผ่นดิน เป็นการสืบสานแนวพระราชดำริในการปลูกป่าของ " พ่อของแผ่นดิน "

3  โครงการพระราชดำริอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์นักพัฒนา
         สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม, สำนักงาน กปร., สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, นิตยสารลุมพินีปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่มักจะเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ ซึ่งพบ นทุกประเทศ และประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้ 

      เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการนำเอาทรัพยากร ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศ
 









โครงการห้วยองคต
ต. สมเด็จเจริญ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

 
พระราชดำริ
"ให้ดำเนินการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากินของราษฎรควบคู่ไปกับการพัฒนา และฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกทั้ง โดยเน้น การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่"


ความเป็นมา
โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บนเนื้อที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม จำนวน ๒๐,๖๒๕ ไร่ ตำบลสมเด็จเจริญ กิ่งอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ และการทำมาหากินของราษฎรควบคู่ไปกับ การพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสู่ความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยทรงเน้น การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรได้อยู่อาศัยและทำมาหากินร่วมกับการคงอยู่ ของธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยมีมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้สนับสนุน โครงการ รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ฯลฯ จะใช้พื้นที่ป่าสงวนซึ่งถูกบุกรุกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรม มาดำเนินการจัดสรรให้แก่ราษฎรผู้ยากจนเข้าไปประกอบอาชีพ ซึ่งได้จัดเป็นแปลงที่ดินให้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยครอบครัวละ ๑ ไร่ ที่ดินทำการ
วัตถุประสงค์
๑. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมโดยการปลูกป่าไม้ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตามเดิม
๒. บริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยการแบ่งแยกพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนทั้งในด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูสภาพป่า การจัดสรรที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และพื้นที่ส่วนกลางในการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น ต่าง ๆ
๓. จัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน พร้อมทั้งจัดระเบียบชุมชนให้ราษฎรได้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่จัดสรรให้อย่างเหมาะสม
๔. ส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้มีรายได้ และสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการบริหารทรัพยากร อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งการอนุรักษ์
การดำเนินงานในส่วนสหกรณ์
ในปี ๒๕๓๕ โครงการได้ดำเนินการจัดให้เกษตรกรเข้าไปอยู่ตามแปลงที่อยู่อาศัย จำนวน ๑๐๐ ครอบครัว ต่อมาปี ๒๕๓๖ จัดให้ราษฎรเข้าอยู่ในแปลง จำนวน ๑๕๐ ครอบครัว และปี ๒๕๓๗ จัดให้ราษฎรเข้าอยู่ในแปลง จำนวน ๒๐๐ ครอบครัว เกษตรกรที่จะเข้าอยู่ในโครงการจะต้องได้รับการอบรมตามหลักสูตรของ โครงการ ซึ่งแบ่งการอบรมเป็นรุ่น ๆ โดยรุ่นแรกเริ่มอบรมในเดือนสิงหาคม ๒๕๓๕ สำนักงานสหกรณ์จังหวัด กาญจนบุรีได้มอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์อำเภอบ่อพลอย ซึ่งเดิมไม่ได้แยกเป็นกิ่งอำเภอหนองปรือ ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าไปร่วมอบรมราษฎรที่จะเข้าไปอยู่ในโครงการ จำนวน ๓๐๐ คน รวม ๓ รุ่น เพื่อให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ สหกรณ์
ในปี ๒๕๓๖ ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอหนองปรือ ซึ่งแยกจากอำเภอบ่อพลอย ราษฎรที่เข้าอยู่ใน โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสมเด็จเจริญได้ยื่นคำร้องขอจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร สมเด็จเจริญ จำกัด ขึ้น โดยมีผู้แสดงความจำนงขอจัดตั้งสหกรณ์จำนวน ๖๒ คน ทุนเรือนหุ้น ๒,๘๐๐ บาท นายทะเบียนได้รับจดทะเบียนให้สหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ และเห็นชอบให้สหกรณ์ถือใช้วงเงิน กู้ยืมหรือค้ำประกันได้ภายในจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท การดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรสมเด็จเจริญ จำกัด ได้กำหนดปีทางบัญชีสิ้นสุด ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี ในปี ๒๕๓๖-๒๕๓๗ สหกรณ์ได้ดำเนินงานโดยใช้ทุนจากทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ จำนวน ๑๑,๗๙๓ บาท และสินเชื่อทางการค้า สหกรณ์ได้ดำเนินงานโดยจัดหา สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๗๕๖ บาท สิ้นปีสหกรณ์มีกำไรสุทธิ ๑,๔๙๓.๖๕ บาท และในปี ๒๕๓๘ มีกำไรสุทธิ ๒๗๔.๙๓ บาท ส่วนปี ๒๕๓๙ อยู่ระหว่างการปิดบัญชี
สหกรณ์ไม่มีพนักงานและใช้บ้านสมาชิกเป็นสำนักงานชั่วคราว ในปัจจุบันมูลนิธิพัฒนาชนบท (บริษัทซีพี) ได้เข้าดำเนินงานในโครงการซึ่งจะช่วยให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และสหกรณ์สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แผนการแนะนำส่งเสริมในปีงบประมาณ ๒๕๔๐

เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๙ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดกรอบอัตรากำลัง ให้สำนักงานสหกรณ์ กิ่งอำเภอหนองปรือ จำนวน ๒ อัตรา คือ สหกรณ์อำเภอ ระดับ ๖ กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ระดับ ๓ ซึ่งมีแผนในการแนะนำส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรสมเด็จเจริญ จำกัด ในปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ดังนี้
๑. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่เกษตรกรในเขตโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้มีความรู้ความเข้าใจและสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์โดยดำเนินการ ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๔๐ คาดว่าจะรับสมาชิกเพิ่มได้ ๒๐๐ คน
๒. จัดประชุมใหญ่สามัญเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการชุดใหม่ดำเนินการเดือนมกราคม ๒๕๔๐
๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการดำเนินการ ประธานกลุ่มและเลขานุการกลุ่มดำเนินการเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐

โครงการบำบัดน้ำเสีย


                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในการแก้ไขและบำบัดน้ำเสียในชุมชนเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่  โดยพระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมมือกันทดลองหาวิธีแก้ไขและบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการที่ง่าย ๆ และเหมาะสม ขณะนี้การบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ส่งผลเป็นที่น่าพอใจและกำลังเผยแพร่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศมากขึ้น  การบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำรัสที่พระราชทานให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานนั้น  จะเป็นประโยค ง่าย ๆ และได้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วเป็นอย่างดีเป็นข้อความง่าย ๆ ที่มีความหมายลึกซึ้ง และบางครั้งบอกถึงวิธีการดำเนินการไว้ด้วย   ดังพระราชดำริในเรื่องต่อไปนี้



 
            2.    "ไตธรรมชาติ"  พระราชดำริในการบำบัดน้ำเสียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยทรงเปรียบเทียบว่า  "บึงมักกะสันเป็นเสมือน "ไตธรรมชาติ" ของกรุงเทพมหานครที่เก็บกักและฟอกน้ำเสียตลอดจนเป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน  และโปรดเกล้าฯ ให้มีการทดลองใช้  ผักตบชวา  ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วมาช่วยดูดซับความสกปรกปนเปื้อนรวมตลอดทั้งสารพิษต่าง ๆ  จากน้ำเน่าเสีย ประกอบเข้ากับเครื่องกลบำบัดน้ำเสียแบบต่าง ๆ  ที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเอง   โดยเน้นวิธีการที่เรียบง่าย  ประหยัด  บึงมักกะสันในปัจจุบันได้ทำหน้าที่ "ไตธรรมชาติของกรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพได้มีส่วนช่วยบรรเทามลพิษทางน้ำ   และเป็นแหล่งศึกษาทดลองด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  ดังพระราชกระแสที่พระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ความตอนหนึ่งว่า
"…ในกรุงเทพมหานครต้องมีพื้นที่หายใจ  แต่ที่นี่เราถือว่าเป็นไตกำจัดสิ่งสกปรกและโรค  สวนสาธารณะถือว่าเป็นปอด  แต่นี่เหมือนไตที่ฟอกเลือด ถ้าไตทำงานไม่ดีเราตาย อยากให้เข้าใจหลักการของความคิดนี้…."


          3. การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการเติมอากาศ  ในปัจจุบันสภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่าง ๆ  มีความรุนแรงมากขึ้น  น้ำในคลองและแหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ  ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนและมีผลเสียต่อสุขภาพอนามัย  จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องกลเติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย  ได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริในการสร้างและพัฒนาเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวหน้าหมุนช้าแบบทุ่นลอย  หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนาซึ่งมีใบพัดขับเคลื่อนน้ำและซองวิดน้ำไปสาดกระจายเป็นฝอย  เพื่อให้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง   เป็นผลให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว  และในช่วงที่น้ำเสียถูกยกขึ้นมากระจายสัมผัสกับอากาศตกลงไปยังผิวน้ำ  จะทำให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไป  ก่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนอีกส่วนหนึ่ง  เครื่องกลเติมอากาศ  "กังหันน้ำชัยพัฒนา" นี้สามารถนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้โดยตรง   และยังสามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชน  แหล่งอุตสาหกรรม  และแหล่งเกษตรกรรม  กล่าวคือ  ใช้เพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ  เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น  รวมทั้งการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและก่อให้เกิดความปลอดภัยในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของพสกนิกรทุกกลุ่มอาชีพอีกทางด้วย



         กรมทรัพย์สินทางปัญญา  กระทรวงพาณิชย์  ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่  3127  ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์  และในการทูลเกล้าฯ  ถวายสิทธิบัตรได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  แทนพระองค์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536  ซึ่งนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่  9  ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร


แหล่งที่มา

http://www.thainame.net
http://prdnorth.in.th
http://www.panyathai.or.th


ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.นส.ธัญญรัตน์   เสียมรัฐ    53492441008    โครงการบำบัดน้ำเสีย
2.นส.กลิ่นสุคนธ์ ทองพุล    53492441010     โครงการแก้มลิง
3.นส.ชุติมา   เกตุผาสุข      53492441026     โครงการปลูกหญ้าแฝก
4.นส.วริศรา  ศรีทิพย์          53492441066     โครงการห้วยองคต
5.นส.ลลิตา  ประดิษฐากร   53492441067      โครงการฝนหลวง